กรมป่าไม้

กรมป่าไม้  

     ดูแลด้านการอนุรักษ์และปลูกป่าทดแทน หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (กรมป่าไม้) สังกัดกลุ่มกิจการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

     กิจกรรมหลัก   ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ สาธิตและทดสอบ เช่น    การเพาะชำกล้าไม้   งานธนาคารอาหารชุมชนและพืชสมุนไพร แจกจ่ายกล้าไม้ให้เกษตรกรและหน่วยงานต่าง ๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น การศึกษาดูงานของเกษตรกรองค์กรต่างๆ พื้นที่ 30 ไร่

ภาพกิจกรรมการดำเนินงาน

  

  

 

การดำเนินงาน 

   กิจกรรมดำเนินงาน

          1. เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป 

                กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ทั่วไป  สามารถจำแนกชนิดกล้าไม้ที่เพาะชำ  ดังนี้  เม็ก  กระถินเทพา  มะค่าโมง  หว้า  คูน  พะยอม  เพกา  ขี้เหล็ก  มะขามป้อม  มะขาม  ประดู่ป่า  ไผ่รวก  สะเดา  สีเสียดเปลือก  ยางกราด  ชิงชัน  มะค่าแต้  และกระบาก 

           2. เพาะชำกล้าไม้มีค่า

             กิจกรรมการเพาะชำกล้าไม้มีค่า  ได้แก่  ไม้ยางนา  ไม้มะค่า  ไม้ตะเคียนทอง  ไม้สัก  เป็นต้น

          3. ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ

             กิจกรรมการปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ  เช่น  ทำฝาย ปลูกซ่อมต้นที่ตาย  และเจาะร่องทำแนว  เป็นต้น

          4. บำรุงป่าไม้ใช้สอย  

             กิจกรรมการบำรุงป่าไม้ใช้สอย  เช่น  พรวนดินใส่ปุ๋ย  การกำจัดวัชพืช  ตัดแต่งกิ่ง  และปลูกซ่อมส่วนที่เสียหาย

          5. บำรุงรักษาป่าปีที่ 

             กิจกรรมการบำรุงรักษาป่า  เช่น  มีการผสมปุ๋ยใช้เอง  การพรวนดินรอบโคนต้น  การกำจัดวัชพืช  ปลูกซ่อมในส่วนที่เสียหาย

          6. งานฝึกอบรมราษฎร

             กิจกรรมการฝึกอบรมราษฎรและโครงการเครือข่ายเยาวชนรักษ์ป่า-รักษ์น้ำ  ให้ความรู้ แนะนำ  และขยายผลสู่แปลงเกษตรกรในระบบวนเกษตร  ส่งเสริมอาชีพ ดำเนินการติดตามผล

          7. งานอำนวยการ และประสานการดำเนินงานโครงการ

             งานอำนวยการของโครงการได้ดำเนินงานตามแผนงานประจำปี  ซ่อมแซมปรับปรุงภูมิทัศน์  และงานเอกสารต่างๆ  ของโครงการ

การดำเนินงาน 

1. งานบริหารอำนวยการ

          2. แผนงานวิชาการ      

    โครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ  (กรมป่าไม้)ซึ่งเป็นโครงการ ฯ  ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชดำริ  ให้กรมป่าไม้พิจารณาจัดหาพื้นที่ลองทำโครงการ โดยส่งเสริมอาชีพเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้โดยไม่ทำลายป่า โครงการ ฯ จึงสำรวจมันป่าวงศ์ DIOSCOREACEAE ในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ ฯ ได้มีการสำรวจพบมันป่า 9 ชนิด ซึ่งสามารถใช้ส่งเสริมในระบบวนเกษตร ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมแลภูมิศาสตร์ของพื้นที่ โดยในอดีตพื้นที่ภาคอีสานความรู้ทางด้านวิชาการเกษตรเพื่อผลิตข้าวยังไม่ก้าวหน้า คนอีสานจึงใช้มันป่าหุงรวมกับข้าว เพื่อเป็นแหล่งอาหารในการดำรงชีพ และในพื้นที่บริเวณชายแดนติดกับกัมพูชาซึ่งเคยมีสงครามสู้รบ มันป่าก็เป็นแหล่งอาหารที่ใช้ในยามศึกสงคราม

    มันป่า วงศ์ DIOSCOREACEAE พบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อความแห้งแล้งของสภาพอากาศ และจะสะสมอาหารภายในรากหรือในหัว ซึ่งสามารถขุดบริโภคได้ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนมกราคม และเมื่อถึงฤดูฝนก็จะแตกยอดขึ้นมาใหม่ และอีกทั้งพบว่าในกลอย  (Dioscorea hispida Dennst.)มีสาร Diosgenin  ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญในการเป็นสารตั้งต้นในการผลิตชุดยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์  และมีฤทธิ์ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อใช้พืชที่ส่งเสริมในการจัดทำแปลงธนาคารอาหารชุมชน(Food bank)  และพืชสมุนไพร รวมทั้งเป็นแหล่ง อนุรักษ์พันธุกรรมพืชมันป่า   

          ขั้นตอนการดำเนินงาน

            - เตรียมเมล็ดมันป่า  เพาะเมล็ดลงในแปลงที่เตรียมไว้พร้อมติดป้ายชื่อกำกับ

            - อายุกล้า 3-4 สัปดาห์ย้ายลงถุงชำ หลังจากย้ายกล้าลงถุงได้ประมาณ 1 เดือน นำลงปลูกในแปลง และริมรั้ว

            - เตรียมแปลงสำหรับปลูกมันในพื้นที่

            - แปลงศึกษาวิจัย และนำเสนอผลงาน

ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องมันป่าที่มีศักยภาพในแปลงวนเกษตร

     2. ด้านความคุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

                       2.1 พื้นฟูทรัพยากรป่าพื้นที่สาธารณะและแหล่งต้นน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

                             - งานจัดทำแนวกันไฟ

                             - ฝ่ายผสมผสาน

          ผลการดำเนินงาน

            - งานจัดทำแนวกันไฟ ๑๕ กิโลเมตร เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้ป่าและเป็นเส้นทางตรวจการณ์ในการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่

            - ฝายผสมผสาน ๒๐ ตัวในพื้นที่ป่า เพื่อใช้ชะลอการไหลของน้ำ กักเก็บตะกอนดิน อินทรียวัตถุ และเพิ่มความชุมชื้นให้แก่พื้นที่รอบบริเวณฝาย

          ได้ดำเนินการพื้นฟูทรัพยากรป่าพื้นที่สาธารณะและแหล่งต้นน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

                         2.2 ส่งเสริมการสร้างสมดุลระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพ

                             - ผลิตกล้าไม้มีค่า (ขนาดใหญ่)

                             - ผลิตกล้าไม้ทั่วไป

          ผลการดำเนินงาน

ได้ดำเนินการส่งเสริมการสร้างสมดุลระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพ  ใ

          3. งานบริการวิชาการ   

                   - การขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยางสู่แปลงวนเกษตรราษฎร 

ได้ดำเนินการการขยายผลเห็ดป่าในไม้วงศ์ยางสู่แปลงวนเกษตรราษฎรเสร็จเรียบร้อย

  

    

   

  

 

 

@spkphusing